TrialWatch To Monitor Defamation Case Against Thai Journalist Chutima Sidasathian
This statement can be attributed to the Clooney Foundation for Justice. For further inquiries, please contact [email protected]
อ่านภาษาไทยด้านล่าง
The Clooney Foundation for Justice’s TrialWatch initiative announced today that it will monitor the trial of Thai journalist Chutima Sidasathian, who has been charged with defamation for her investigative reporting on corruption. The trial is due to begin on February 6.
This is not the first time that Sidasathian has been prosecuted for her work. Ten years ago, she was tried and acquitted of defamation for her reporting on human trafficking in Thailand.
These types of cases are called strategic lawsuits against public participation (SLAPPs), a tool used to suppress speech and silence critics. The multiple SLAPPs against Sidasathian reflect the frequency with which journalists in Thailand are targeted in an effort to stop them from covering critical issues. Thailand is ranked 106/180 in Reporters Without Borders’ 2023 World Press Freedom Index, in part because defamation laws are “systematically used to harass journalists, who––if prosecuted––are forced to incur exorbitant legal fees.” Human rights group Article 19 has said that at least 25,000 criminal defamation cases have been filed by private parties and public prosecutors in Thailand since 2015.
TrialWatch monitors criminal trials globally against those who are most vulnerable, including journalists and democracy defenders. In addition to Sidasathian’s case, TrialWatch is monitoring several cases brought against Thai protesters, journalists, and lawyers for insulting the monarchy and recently filed an amicus brief in a SLAPP brought by a poultry company against three Thai human rights activists.
“Sidasathian’s reporting brought to light potential corruption in the banking sector in Thailand’s rural northeast. Her case shows how powerful local figures can spark prosecutions of their critics,” said Kyle Delbyck, Senior Program Manager at TrialWatch. “Investigative reporting should be applauded, not criminalized.”
In 2021, Sidasathian began investigating events in the Nakhon Ratchasima province of Thailand, where a bank had taken legal action against the residents of several villages to recoup money for loans that many villagers denied having ever received. Facing lawsuits brought by the bank, some villagers were reportedly driven to suicide, while others face financial ruin.
Investigating the matter, Sidasathian uncovered allegations of misappropriation of funds and other irregularities on the part of bank officers and public officials, including the mayor of the Banlang sub-district, where the villages are located. In May 2022, after Sidasathian shared some of her findings on Facebook, the mayor filed a complaint that she had criminally defamed him.
Public prosecutors took the case forward and Sidasathian was notified of the proceedings a month later. She was summoned to the court in December 2022, where she was charged with three counts of defamation, each of which carries a sentence of two years’ imprisonment, and was briefly detained.
Sidasathian’s defamation prosecution comes while the mayor is reportedly himself facing criminal charges of misappropriation of funds based on the claims Sidasathian made in her Facebook posts. Furthermore, in October 2023 the National Human Rights Commission of Thailand found that the criminal defamation case against Sidasathian constituted a SLAPP, and in late 2023 a Special Commission of Investigation was set up by the government to examine some of the same allegations Sidasathian made about the village loans .
“Sidasathian is facing six years in jail for reporting on allegations that in fact led to a corruption investigation,” Delbyck added. “Given that Thailand is seeking to join the United Nations Human Rights Council in 2025, it should take action to prevent SLAPPs and decriminalize defamation.”
TrialWatch, along with law firm Covington & Burling LLP, will produce a TrialWatch Fairness Report grading the case against international fair trial standards after the end of Sidasathian’s trial.
ความคิดริเริ่มไทร์ลวอตช์จะติดตามคดีฟ้องหมิ่นประมาทนักข่าวไทย ชุติมา สีดาเสถียร
ความคิดริเริ่มไทร์ลวอตช์ภายใต้มูลนิธิคลูนีย์เพื่อความยุติธรรมประกาศในวันนี้ว่า จะติดตามกระบวนการพิจารณาคดีของคดีความผิดข้อหาฐานหมิ่นประมาทของนักข่าว ชุติมา สีดาเสถียร เนื่องจากการรายงานข่าวเชิงสืบสวนกรณีการทุจริต โดยกระบวนการพิจารณาคดีจะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์นี้
เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่การถูกฟ้องดำเนินคดีที่สืบเนื่องจากการทำงานครั้งแรกของชุติมา เมื่อสิบปีที่แล้ว ชุติมาก็ถูกดำเนินคดีจากการรายงานข่าวเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน คดีดังกล่าวต่อมาศาลยกฟ้อง
การดำเนินการเหล่านี้เรียกว่าการฟ้องร้องดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อยับยั้งการมีส่วนร่วม (Strategic Lawsuits Against Public Participation: SLAPP) หรือการฟ้องปิดปาก ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการแสดงออกและห้ามปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์ คดี SLAPP ที่เกิดขึ้นกับชุติมาสะท้อนถึงสถานการณ์ในประเทศไทยที่นักข่าวต้องตกเป็นเป้าของความพยายามในการหยุดยั้งมิให้พวกเขาสามารถทำหน้าที่รายงานข่าวในประเด็นสำคัญได้ องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนได้จัดอันดับประเทศไทยในดัชนีเสรีภาพสื่อโลกประจำปี 2566 ไว้อันดับที่ 106 จากทั้งหมด 180 อันดับ ส่วนหนึ่งก็เพราะกฎหมายหมิ่นประมาทของประเทศ “ถูกใช้ในการคุกคามนักข่าวอย่างเป็นระบบ ซึ่งเมื่อนักข่าวถูกฟ้องดำเนินคดีแล้วจะต้องแบกรับต้นทุนทางกฎหมายที่สูงลิ่ว” องค์กรอาร์ติเคิลไนน์ทีน องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ระบุว่า ประเทศไทยมีการฟ้องคดีอาญาความผิดฐานหมิ่นประมาทจำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 25,000 คดีในปี 2558 โดยเป็นทั้งที่มาจากบุคคลทั่วไปและพนักงานอัยการ
ไทร์ลวอตช์ทำงานติดตามกระบวนการพิจารณาคดีอาญาที่จำเลยเป็นบุคคลที่มีความเปราะบางที่สุดทั่วโลก อันรวมถึงนักข่าวและนักปกป้องประชาธิปไตย นอกจากคดีของชุติมาแล้ว ไทร์ลวอตช์ยังติดตามคดีของผู้ชุมนุมประท้วง นักข่าว และทนายความจำนวนหนึ่งที่ถูกฟ้องหมิ่นประมาทสถาบันกษัตริย์ และยื่นหนังสือเพื่อนศาล (amicus curiae brief) ในคดีฟ้องปิดปากด้วยข้อหาหมิ่นประมาท ที่มีโจทก์เป็นบริษัทฟาร์มไก่ทำการฟ้องนักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชน 3 ราย
“การรายงานข่าวของชุติมาเผยให้เห็นถึงกรณีทุจริตในภาคการธนาคารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย การฟ้องคดีชุติมาแสดงให้เห็นว่า บุคคลระดับท้องถิ่นที่มีอิทธิพลสามารถดำเนินคดีเพื่อปิดกั้นผู้วิพากษ์วิจารณ์ตนเองได้” ไคล์ เดลบิกค์ ผู้จัดการโครงการอาวุโสของไทร์ลวอตช์กล่าว “การรายงานข่าวเชิงสืบสวนควรได้รับการส่งเสริมชื่นชม มิใช่ถูกฟ้องคดีอาญา”
ในปี 2564 ชุติมาเริ่มสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจังหวัดนครราชสีมาของประเทศไทย ในกรณีที่ธนาคารแห่งหนึ่งฟ้องดำเนินคดีชาวบ้านในหลายหมู่บ้านเพื่อเรียกเก็บหนี้จากเงินกู้ที่ชาวบ้านปฏิเสธว่าได้รับ มีรายงานว่า คดีความที่เกิดจากการฟ้องดำเนินคดีโดยธนาคารดังกล่าวเหล่านี้ทำให้ชาวบ้านหลายรายประสบความทุกข์ยากทางการเงินอย่างรุนแรง หรือแม้แต่ตัดสินใจฆ่าตัวตาย
ขณะที่ชุติมาลงมือตรวจสอบกรณีข้างต้นนั้น ก็ได้ค้บพบกรณีการยักยอกเงินกองทุนและความผิดปรกติประการอื่น ๆ ในการดำเนินการระหว่างเจ้าหน้าที่ธนาคารและเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงนายกเทศมนตรีตำบลบังลังก์ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านดังกล่าวด้วย ในเดือนพฤษภาคม 2565 หลังจากที่ชุติมาได้เผยแพร่ข้อค้นพบบนเฟซบุ๊กแล้ว นายกเทศมนตรีตำบลบังลังก์ก็แจ้งความกับชุติมาด้วยข้อหาหมิ่นประมาท
พนักงานอัยการสั่งฟ้องคดีดังกล่าว โดยชุติมาได้รับหมายศาลหนึ่งเดือนหลังจากนั้น และไปรายงานตัวต่อศาลในเวลาต่อมาในช่วงเดือนธันวาคม 2565 ศาลแจ้งว่า จำเลยถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาทจำนวน 3 กระทง มีระวางโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี ชุติมายังถูกคุมขังเป็นเวลาสั้น ๆ อีกด้วย
การดำเนินคดีกับชุติมาด้วยข้อหาหมิ่นประมาทนี้เกิดขึ้นขณะที่มีรายงานว่า นายกเทศมนตรีตำบลบังลังก์กำลังถูกฟ้องข้อหายักยอกเงินกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาเดียวกับที่น.ส. ชุติมาพูดถึงในโพสต์เฟซบุ๊ก นอกจากนี้ ในเดือนตุลาคม 2566 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติระบุว่า การฟ้องคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทกับชุติมานั้นถือเป็นการฟ้องปิดปาก (SLAPP) และในช่วงปลายปี 2566 รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพิเศษขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อดูข้อกล่าวหาของชุติมาเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน
“ชุติมาอาจต้องโทษจำคุกถึง 6 ปีจากการรายงานข้อกล่าวหาที่ท้ายที่สุดแล้วนำไปสู่การตรวจสอบกรณีทุจริต” เดลบิกค์เสริม “ประเทศไทยกำลังพยายามเข้าเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในปี 2568 ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรดำเนินการป้องกันการฟ้องปิดปากและยกเลิกโทษอาญาฐานหมิ่นประมาท”
ไทร์ลวอตล์และสำนักกฎหมายโควิลตันแอนด์เบอร์ลิงจะจัดทำรายงานความยุติธรรมไทร์ลวอตช์ (TrialWatch Fairness Report) ในคดีนี้หลังจากกระบวนการพิจารณาคดีสิ้นสุด