TrialWatch Report Underlines Need for More Robust Anti-SLAPP Protections in Thailand

(Scroll down to read this statement in Thai)

Thailand’s rules to prevent Strategic Lawsuits Against Public Participation (“SLAPPs”) have proven ineffective, the Clooney Foundation for Justice’s TrialWatch Initiative said in a report released today.

TrialWatch reviewed 36 criminal defamation cases that were brought since the 2019 adoption of the existing ‘anti-SLAPP’ rules, concluding that they have failed to curtail abusive cases. This includes cases such as some of the 39 criminal and civil defamation cases reportedly brought by poultry company Thammakaset against human rights defenders, workers and journalists. With Thailand’s Ministry of Justice currently considering new anti-SLAPP measures, the time is right for further reforms.

SLAPPs refer to civil or criminal lawsuits that aim to curb or discourage speech on matters of public concern. They can be instigated by entities or individuals against those criticizing or opposing their activities. SLAPPs are an acute issue in Thailand, which “stands out” when it comes to this global problem, according to Protection International. The International Center for Not-For-Profit-Law has described Thailand as one of “the most fertile fields” for SLAPPs in the Global South.

Pursuant to the country’s National Action Plan on Business and Human Rights, which recognized  the need for measures to prevent SLAPPs, two anti-SLAPP provisions were added to the Thai Criminal Procedure Code in 2019.

A major shortcoming of these provisions is that one of them applies only to cases brought by private parties, even though many SLAPPs in Thailand are brought by public prosecutors at the behest of powerful parties, who then join the case as co-plaintiffs. Further, of the 36 cases analyzed for this report, the courts did not grant, or even respond to a single motion filed under the two anti-SLAPP provisions. None of the cases analyzed ended in conviction, which shows the baseless nature of the cases.

“The Thai government’s commitment to tackling SLAPPs is commendable. However, it is critical that any future interventions do not become a missed opportunity,” said Dr. Francesca Farrington, a TrialWatch Expert, co-author of the report, and Lecturer at the University of Aberdeen School of Law. “Careful consideration needs to be taken of the findings and recommendations set out in the report. In particular, the finding that private individuals will find ways to circumvent anti-SLAPP provisions that are limited in scope.”

The anti-SLAPP provisions authorize courts to dismiss cases brought in bad faith by a private party at an early stage (Section 161/1) and allow defendants to present additional evidence during preliminary hearings, increasing the chance of early-stage dismissal (Section 165/2).

In many of the cases taken up by state authorities, inquiry officers and prosecutors simply did not consider whether the case might have been a SLAPP, even when cases bore evident characteristics of a SLAPP. For instance, in response to the investigative reporting of journalist Chutima Sidasthian, one mayor lodged five cases against her. One of them—a case TrialWatch monitored—lasted one and a half years before finally being dismissed on grounds that should have been obvious from the beginning.

In cases brought by private parties, courts rejected requests for early dismissal only to acquit defendants years later for reasons that the dismissal requests had laid out from the outset. For example, a business brought a criminal defamation case—the most common SLAPP charge in Thailand—against a journalist who had reported on the COVID-19-related death of a factory worker. Though the journalist sought early dismissal on the ground that they had reported in good faith, the court rejected the request, only to acquit the journalist one and a half years later because “[t]he overall content was accurate” and that news outlets “were all reporting about the outbreak at the Plaintiff’s factory” at the time.

“The Thai judiciary (and prosecutors) must be empowered to uphold the rule of law and protect those exercising their rights to freedom of expression and assembly from abusive lawsuits,” added Dr. Farrington.

Until Thailand repeals its criminal defamation law—the approach most consistent with international standards—it must improve anti-SLAPP protections. The new TrialWatch report recommends that:

  • There should be clear standards empowering courts to dismiss, or inquiry officer and prosecutors to decline to pursue, criminal defamation cases, particularly those based on public interest speech;
  • Courts should be required to hold preliminary hearings in all criminal defamation cases—not just those brought by private parties—with procedures and timelines. Courts should also be required to provide a reasoned decision on whether or not they chose to dismiss the case; and
  • There should be deterrent mechanisms, such as the possibility that litigation costs could be awarded to the defendant, where a case is dismissed as a SLAPP.

You can read the report in English here and its executive summary in Thai here.

About the Clooney Foundation for Justice’s TrialWatch Initiative

TrialWatch monitors criminal trials globally against those who are most vulnerable—particularly journalists, democracy defenders, women and girls, LGBTQ+ persons, and minorities. TrialWatch’s work covers more than 40 countries and has led to persecuted individuals being freed or acquitted, and unfair laws reformed, in dozens of cases. TrialWatch is now building a Global Justice Index that will be the first to rank countries on their justice systems through real-world data.


รายงาน TrialWatch เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการมีบทบัญญัติคุ้มครองบุคคลจากการถูกฟ้องปิดปากที่มีประสิทธิภาพกว่านี้

กฎหมายของประเทศไทยในการป้องกันการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน (Strategic Lawsuits Against Public Participation: SLAPPs) หรือการฟ้องปิดปาก นั้นยังขาดประสิทธิภาพ โครงการ TrialWatch ของมูลนิธิคลูนีย์เพื่อความยุติธรรม (the Clooney Foundation for Justice) กล่าวในรายงานที่เผยแพร่ในวันนี้

TrialWatch ได้ศึกษาคดีอาญาข้อหาความผิดฐานหมิ่นประมาทจำนวน 36 คดีที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 2562 หลังจากประเทศไทยออกมาตราการ “ป้องกันการฟ้องปิดปาก” (anti-SLAPP) โดยได้ข้อสรุปว่า บทบัญญัติต่างๆที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพในการลดทอนคดีที่ไม่หมาะสม ในกรณีรวมทั้งคดีแพ่งและอาญาข้อหาความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นจำนวน ทั้งสิ้น 39 คดี ที่บริษัท ฟาร์มไก่ ธรรมเกษตร ได้ฟ้องต่่่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน แรงงาน และนักข่าว        ในโอกาสที่กระทรวงยุติธรรมของประเทศไทยกำลังพิจารณามาตรการใหม่ต่อประเด็น“ป้องกันการฟ้องปิดปาก” (anti-SLAPP) จึงถึงเวลาที่เหมาะสมในการปฏิรูปบทบัญญัติ

SLAPPs หรือการฟ้องปิดปาก หมายถึง การดำเนินคดีแพ่งหรืออาญาเพื่อจำกัดหรือขัดขวางการแสดงความเห็นในประเด็นสาธารณะ โดยอาจเป็นการฟ้องร้องโดยบุคคลหรือหน่วยงานเพื่อต่อต้านผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์หรือคัดค้านกิจกรรมของพวกเขา  SLAPPs ถือเป็นปัญหาที่รุนแรงของประเทศไทยซึ่งมีความ”โดดเด่น เมื่อกล่าวถึงปัญหาระดับโลกนี้ต่อประเด็น SLAPPs จากข้อมูล องค์กร Protection International และจากสถาบันระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายเพื่อกิจการไม่ แสวงหากำไร (International Center for Not-for- Profit-Law หรือ ไอซีเอ็นแอล) ยังระบุว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน “พื้นที่ที่เอื้ออำนวย” ต่อการฟ้อง SLAPPs ในแถบประเทศซีกโลกใต้

ประเทศไทยได้ตราบทบัญญัติเพื่อป้องกันการฟ้องปิดปากจำนวน 2 บทบัญญัติ ผ่านการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใน พ.ศ. 2562 ตามแนวทางภายใต้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Rights)

ข้อบกพร่องที่สำคัญของบทบัญญัติดังกล่าว ได้แก่ หนึ่งในบทบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้กับคดีที่ดำเนินการฟ้องโดยคดีราษฎรเป็นโจทก์  แม้ว่าการ SLAPP จำนวนมากในประเทศไทยสั่งฟ้องโดยพนักงานอัยการตามคำสั่งของคู่กรณีที่มีอำนาจเหนือและในเวลาต่อมาจะเข้าร่วมในคดีในฐานะโจทก์ร่วม

นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์คดีจำนวนทั้งหมด 36 คดี รายงานฉบับนี้ พบว่า ศาลไม่เคยอนุญาตหรือตอบรับคำร้องขอให้นำบทบัญญัติ 2 ข้อดังกล่าวมาใช้แต่อย่างใด ในคดัทั้งหมดที่ได้ศึกษาพบว่าไม่มีคดีใดเลยที่ศาลตัดสินว่าจำเลยมีความผิด ซึ่งแสดงให้ว่าเป็นการฟ้องที่ไม่มีมูลทั้งสิ้น

“ความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการจัดการปัญหา SLAPPs นั้นน่าชื่นชม อย่างไรก็ดี รัฐบาลจำเป็นต้องทำให้มั่นใจว่า การดำเนินการเพื่อแทรกแซงใด ในอนาคตจะไม่กลายเป็นการสูญเสียโอกาสที่ดีไป” ดร. ฟรานเซสกา ฟาร์ริงตัน ผู้เชี่ยวชาญของ TrialWatch ผู้ร่วมเขียนรายงาน และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน กล่าว  “รัฐบาลต้องคำนึงถึงข้อค้นพบและข้อเสนอแนะในรายงายฉบับนี้อย่างละเอียดรอบคอบ โดยเฉพาะข้อค้นพบที่ระบุว่า บุคคล/ภาคเอกชนมักพยายามหาวิธีในการหลบเลี่ยงบทบัญญัติป้องกันการฟ้องปิดปาก ซึ่งมีขอบเขตที่จำกัดในตัวมันเอง”

บทบัญญัติในการป้องกันการฟ้องปิดปากให้อำนาจศาลในการยกฟ้องคดีที่มีบุคคล/ภาคเอกชนเป็นโจทก์ตั้งแต่ต้น (มาตรา 161/1) และให้จำเลยสามารถนำเสนอพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เพื่อให้ศาลพิจารณายกฟ้องคดีตั้งแต่ช่วงต้น (มาตรา 165/2)

ในหลายคดีที่เป็นการฟ้องคดีโดยเจ้าหน้าที่รัฐ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมักไม่พิจารณาว่า คดีดังกล่าวมีลักษณะเข้าข่ายคดี SLAPPs หรือไม่ แม้ว่าบางคดีอาจมีลักษณะที่ชัดเจนว่าเป็นคดีSLAPPs ยกตัวอย่างเช่น กรณีการรายงานผลการสืบสวนของ คุณชุติมา สีดาเสถียร ในฐานะนักข่าว นายกเทศมนตรีท่านหนึ่งได้ฟ้องคดีจำนวน 5 คดี ต่อคุณชุติมา โดยหนึ่งในนั้นเป็นคดีที่ไทร์ลวอตช์ติดตามด้วย คดีดังกล่าวใช้เวลานานกว่าหนึ่งปีครึ่ง ก่อนที่ศาลจะยกฟ้องด้วยเหตุผลที่เห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ต้น

ส่วนในคดีที่เอกชนเป็นผู้ฟ้อง ศาลปฏิเสธคำร้องให้ยกฟ้องคดีตั้งแต่ต้นเพื่อให้จำเลยไม่มีความผิด แต่กลับไปยกฟ้องจำเลยเมื่อคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและใช้เวลาหลายปี ด้วยเหตุผลเดียวกันกับที่ระบุในคำร้องตั้งแต่ต้น ตัวอย่างเช่น บริษัทเอกชนรายหนึ่งได้ฟ้องคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาท (ข้อหาที่ถูกใช้ในการฟ้องSLAPPsที่ถูกใช้บ่อยที่สุดในประเทศไทย) ต่อนักข่าวที่รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์การเสียชีวิตของลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานจากโรคโควิด 19 แม้ว่านักข่าวรายดังกล่าวจะได้พยายามร้องขอให้ศาลยกฟ้องคดีตั้งแต่ต้นเนื่องจากเป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริต แต่ศาลกลับมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวและนำคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณา ต่อมาศาลกลับมีคำสั่งยกฟ้องคดีจำเลยหลังจากผ่านไปหนึ่งปีครึ่ง ด้วยเหตุผลว่า “เนื้อหาโดยรวมถูกต้อง” และสำนักข่าว “ล้วนรายงานข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในโรงงานของโจทก์” ในขณะนั้น

“ระบบตุลาการของไทย (และอัยการ) จะต้องได้รับการเสริมอำนาจเพื่อธำรงรักษาหลักนิติธรรม และคุ้มครองผู้ที่ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการรวมตัวจากการถูกฟ้องโดยไม่สุจริต” ดร. ฟาร์ริงตัน เสริม

ประเทศไทยจะต้องปรับปรุงบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองบุคคลจากการฟ้องปิดปากให้ดีขึ้น จนกว่าจะสามารถยกเลิกความผิดอาญาข้อหาหมิ่นประมาทซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ รายงานฉบับใหม่ของ TrialWatch มีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

  • ประเทศไทยควรมีมาตรฐานที่ชัดเจนที่ให้อำนาจศาลในการยกฟ้อง หรือให้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการสามารถไม่สั่งฟ้องคดีอาญาข้อหาความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงความเห็นในประเด็นสาธารณะ
  • ประเทศไทยควรกำหนดขั้นตอน พร้อมระบุกรอบเวลา ให้ศาลดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องในคดีอาญาข้อหาความผิดฐานหมิ่นประมาททุกคดี ไม่เพียงแต่คดีที่บุคคลทั่วไปเป็นโจทก์เท่านั้น และศาลต้องระบุเหตุผลประกอบการตัดสินยกฟ้องคดีหรือไม่ยกฟ้องคดีนั้นๆ ด้วย และ
  • ประเทศไทยควรมีกลไกในการยับยั้งการฟ้องปิดปาก เช่น อาจให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี หากคดีดังกล่าว ศาลยกฟ้องเนื่องจากเป็นคดี SLAPPs

กดที่นี่เพื่ออ่านบทสรุปผู้บริหารของรายงานฉบับนี้เป็นภาษาไทย ส่วนรายงานฉบับเต็มภาษาไทยจะตามมาเร็วๆ นี้

เกี่ยวกับโครงการริเริ่ม TrialWatch ของมูลนิธิคลูนีย์เพื่อความยุติธรรม (the Clooney Foundation for Justice’s TrialWatch Initiative)

โครงการ TrialWatch เป็นความคิดริเริ่ม (the Clooney Foundation for Justice) มีวัตถุประสงค์เพื่อทำงานติดตามการพิจารณาคดีอาญาทั่วโลกที่มีจำเลยมาจากกลุ่มคนที่มีความเปราะบางที่สุด โดยเฉพาะนักข่าว นักปกป้องประชาธิปไตย ผู้หญิงและเด็กหญิง ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และชนกลุ่มน้อย งานของ TrialWatch ครอบคลุมกว่า 40 ประเทศ และมีส่วนทำให้ผู้ที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในหลายสิบคดีได้รับการปล่อยตัวหรือยกฟ้องโดยศาล รวมทั้งกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมได้รับการปฏิรูป ณ ขณะนี้ TrialWatch กำลังทำดัชนีความยุติธรรมโลก (Global Justice Index) ซึ่งจะเป็นดัชนีแรกที่จัดลำดับระบบยุติธรรมของประเทศต่างๆ โดยใช้ข้อมูลจริงจากทั่วโลก

TrialWatch monitors criminal trials globally against those who are most vulnerable—particularly journalists, democracy defenders, women and girls, LGBTQ+ persons, and minorities. TrialWatch’s work covers more than 40 countries and has led to persecuted individuals being freed or acquitted, and unfair laws reformed, in dozens of cases. TrialWatch is now building a Global Justice Index that will be the first to rank countries on their justice systems through real-world data.