Clooney Foundation for Justice Files UN Petition on Behalf of Thai Activist Who Died in Custody

This statement can be attributed to the Clooney Foundation for Justice. For further inquiries, please contact [email protected]

A portrait of Netiporn Sanesangkhom, seen during mourning ceremony outside The Southern Bangkok Criminal Court.

(อ่านภาษาไทยด้านล่าง)

Thai activist Netiporn ‘Bung’ Sanesangkhom died in custody on May 14 following a 65-day hunger strike. Today, the Clooney Foundation for Justice’s TrialWatch initiative took the 28-year-old’s case to the UN Working Group on Arbitrary Detention.

Charged with lèse majesté, a law that criminalizes criticism of the Thai monarchy, Netiporn was facing six criminal cases when she died. She had been on hunger strike not just once, but twice—both times to protest the imprisonment of peaceful activists.

TrialWatch is seeking remedies for violations of Netiporn’s rights, including reparations for her family and, more broadly, an opinion from the Working Group urging Thailand to stop misusing detention to stifle criticism of the monarchy.

According to the NGO Thai Lawyers for Human Rights, more than 270 people have been charged with lèse majesté over the last four years. In January 2024, a Thai court sent an activist to prison for 50 years—the longest lèse majesté sentence ever—for Facebook posts. In addition to Netiporn, three other activists in prison have gone on hunger strike so far this year.

“Thailand’s lèse majesté law is a blunt instrument of oppression against Thai citizens exercising their rights, under international law, of freedom of expression, peaceful assembly, and freedom from arbitrary detention,” said TrialWatch Expert and Former U.S. Ambassador at Large for War Crimes Issues David J. Scheffer.

Before her death, Netiporn had been in and out of prison for two years on charges relating to her involvement in organizing a peaceful and informal poll in February 2022. The poll sought the public’s views on whether motorcades carrying members of the royal family were an inconvenience to the public, which Thai authorities alleged to be an insult to the monarchy and sedition.

Indeed, the government’s clampdown on criticism of the monarchy appears to be escalating: TrialWatch is monitoring a case in which one of the defendants is facing charges simply for repeating UN views of the lèse majesté law. In January, the Thai Constitutional Court ruled that a political party’s efforts to reform the law were tantamount to treason. This is all despite the recently elected Thai government’s attempt to frame itself as “representing a ‘new page’ in democracy and respect for human rights,” including through bidding for a seat on the UN Human Rights Council and securing a partnership agreement with the European Union.

One concerning tactic in lèse majesté cases is that courts either deny defendants bail pending trial on the ground that they ‘have committed an offense’ or offer bail on the condition that they refrain from activism. Netiporn refused to stop her activism and, as a result, her bail was revoked on two separate occasions. TrialWatch’s submission to the UN Working Group argues that these bail restrictions and their subsequent revocation compounded the human rights violations in Netiporn’s case and urges the Working Group to declare her detention unlawful and make clear that activists cannot be forced into the choice between being silenced or going to jail while awaiting trial on lèse majesté charges.

“There is much work to be done now to challenge the vagueness and misguided enforcement of the lèse majesté law and to ensure that Thailand does not obtain membership in the U.N. Human Rights Council until it protects fundamental human rights, which it so woefully failed to do in Netiporn’s case,” added Scheffer.

Netiporn’s tragic death should be a wake-up call both to the Thai government, which should finally heed calls for reforming its lèse majesté law, and to the international community, particularly as countries vote on Thailand’s UN Human Rights Council bid in October.

About the Clooney Foundation for Justice’s TrialWatch Initiative:

TrialWatch is a Clooney Foundation for Justice initiative that monitors criminal trials globally against those who are most vulnerable—particularly journalists, democracy defenders, women and girls, LGBTQ+ persons, and minorities. TrialWatch’s work covers more than 40 countries and has led to persecuted individuals being freed or acquitted, and unfair laws reformed, in dozens of cases. TrialWatch is now building a Global Justice Index that will be the first to rank countries on their justice systems through real-world data.

Watch - For daring to call for reform of the monarchy, Thai protesters face over a decade in prison

11:21

มูลนิธิคลูนีย์เพื่อความยุติธรรมยื่นหนังสือต่อสหประชาชาติฯ ในนามของนักกิจกรรมไทยที่เสียชีวิตขณะคุมขัง

เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง นักกิจกรรมชาวไทย ได้เสียชีวิตขณะคุมขังเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม หลังจากได้ประท้วงอดอาหารมาเป็นเวลา 65 วัน วันนี้ ความคิดริเริ่มไทร์ลวอตช์ (TrialWatch) ของมูลนิธิคลูนีย์เพื่อความยุติธรรมได้นำกรณีของนักกิจกรรมวัย 28 ปีนี้ไปรายงายต่อคณะทำงานแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ

เนติพรถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ระบุความผิดสำหรับการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ไทย ก่อนที่เธอจะเสียชีวิต เนติพรตกเป็นจำเลยในคดีอาญาทั้งหมด 6 คดี โดยการประท้วงอดอาหารครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ก่อนหน้านี้ เนติพรเคยประท้วงอดอาหารไปครั้งหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ดี ทั้งสองครั้งมีเป้าหมายเพื่อประท้วงการคุมขังนักกิจกรรมที่ทำการประท้วงโดยสงบเช่นเดียวกัน

ไทร์ลวอตช์พยายามเรียกร้องการเยียวยาสำหรับการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นต่อเนติพร อันรวมถึงการชดเชยให้แก่ครอบครัวจำเลยและขอให้คณะทำงานฯ ออกความเห็นเรียกร้องให้ประเทศไทยหยุดการใช้การจำคุกเพื่อตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า ในระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมา มีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ไปแล้วกว่า 270 คน ในเดือนมกราคม 2567 ศาลไทยได้ตัดสินจำคุกนักกิจกรรมรายหนึ่งเป็นเวลารวม 50 ปีจากการโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ซึ่งถือเป็นโทษสูงสุดในคดีความผิดข้อหาความผิดนี้ นอกจากเนติพรแล้ว ยังมีนักกิจกรรมอีกสามคนที่ตัดสินใจประท้วงอดอาหารขณะถูกจำคุกในปีที่ผ่านมา

“กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยเป็นเครื่องมือในการกดขี่ประชาชนชาวไทยที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมโดยสงบ และการไม่ต้องถูกควบคุมตัวโดยพลการตามกฎหมายระหว่างประเทศ” นายเดวิด เจ เชฟเฟอร์ ผู้เชี่ยวชาญของไทร์ลวอตช์และอดีตเอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษในประเด็นอาชญากรรมสงคราม กล่าว

ก่อนเสียชีวิต เนติพรถูกฟ้องดำเนินคดีเนื่องจากการมีส่วนในการจัดโพลอย่างไม่เป็นทางการและโดยสงบในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และต้องเข้าออกเรือนจำเป็นเวลาตลอดสองปีที่ผ่านมา กิจกรรมดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมความเห็นของประชาชนในประเด็น “ขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่” ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐไทยมองว่าเป็นการหมิ่นสถาบันกษัตริย์และการยุยงปลุกปั่น

การปราบปรามเสียงวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์โดยรัฐบาลมีแนวโน้มเข้มข้นมากขึ้น ไทร์ลวอตช์กำลังติดตามคดีอีกคดีหนึ่งที่หนึ่งในจำเลยนั้นถูกดำเนินคดี เพียงเพราะอ้างความเห็นขององค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์เท่านั้น ในเดือนมกราคม ศาลรัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทยได้ออกคำวินิจฉัยว่า การที่พรรคการเมืองเสนอแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นแม้ว่าประเทศไทยจะเพิ่งได้เลือกตั้งรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศที่มองตัวเองว่า “เป็นหน้าใหม่แห่งประชาธิปไตยและการเคารพสิทธิมนุษยชน” ซึ่งรวมถึงการประกาศลงสมัครสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนกับสหภาพยุโรป

หนึ่งในกลยุทธที่น่ากังวลที่พบเจอในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ได้แก่ การที่ศาลไม่อนุญาตประกันตัวจำเลยระหว่างรอพิจารณาคดี เนื่องจากจำเลย “ได้กระทำความผิด” หรืออนุญาตประกันตัวโดยกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยทำกิจกรรมการเมือง เนติพรไม่ยอมหยุดทำกิจกรรม จึงทำให้เธอถูกถอนประกันถึงสองครั้งด้วยกัน หนังสือที่ไทร์ลวอตช์ยื่นต่อคณะทำงานแห่งสหประชาชาติฯ นั้นระบุว่า เงื่อนไขการประกันตัวที่จำกัดสิทธิและการถอนประกันในคดีของเนติพรถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเรียกร้องให้คณะทำงานฯ ประกาศว่า การควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมายและการบังคับให้นักกิจกรรมต้องเลือกระหว่างถูกปิดปากกับถูกจำคุกขณะรอการจพิจารณาคดีในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สมควร

กรณีการเสียชีวิตที่น่าสลดใจของเนติพรควรเป็นเครื่องย้ำเตือนต่อรัฐบาลไทยให้ยอมปฏิรูปกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และต่อประชาคมโลก โดยเฉพาะในการออกเสียงเลือกประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในเดือนตุลาคมนี้

“เรายังต้องทำงานกันอีกมากในปัจจุบันนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาความคลุมเครือและการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ รวมทั้งรับประกันว่า ประเทศไทยจะไม่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จนกว่าจะสามารถปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานได้” นายเชฟเฟอร์เสริม

เกี่ยวกับความคิดริเริ่มไทร์ลวอตช์ของมูลนิธิคลูนีย์เพื่อความยุติธรรม

ความคิดริเริ่มไทร์ลวอตช์เป็นความคิดริเริ่มภายใต้มูลนิธิคลูนีย์เพื่อความยุติธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อทำงานติดตามการพิจารณาคดีอาญาทั่วโลกที่มีจำเลยมาจากกลุ่มคนที่มีความเปราะบางที่สุด โดยเฉพาะนักข่าว นักปกป้องประชาธิปไตย ผู้หญิงและเด็กหญิง ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ และชนกลุ่มน้อย งานของไทร์ลวอตช์ครอบคลุมกว่า 40 ประเทศ และมีส่วนทำให้ผู้ที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในหลายสิบคดีได้รับการปล่อยตัวหรือยกฟ้องโดยศาล รวมทั้งกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมได้รับการปฏิรูป ณ ขณะนี้ ไทร์ลวอตช์กำลังทำดัชนีความยุติธรรมโลก (Global Justice Index) ซึ่งจะเป็นดัชนีแรกที่จัดลำดับระบบยุติธรรมของประเทศต่างๆ โดยใช้ข้อมูลจริงจากทั่วโลก

TrialWatch monitors criminal trials globally against those who are most vulnerable—particularly journalists, democracy defenders, women and girls, LGBTQ+ persons, and minorities. TrialWatch’s work covers more than 40 countries and has led to persecuted individuals being freed or acquitted, and unfair laws reformed, in dozens of cases. TrialWatch is now building a Global Justice Index that will be the first to rank countries on their justice systems through real-world data.